This website uses technical and assimilated cookies as well as user-profiling third party cookies in a grouped format to simplify online navigation and to protect the use of services. To find out more or to refuse consent to the use of one or any of the cookies, click here. Closing this banner, browsing this page or clicking on anything will be taken as consent to the use of cookies.  

Close

SOVEREIGN MILITARY HOSPITALLER ORDER OF ST JOHN OF JERUSALEM OF RHODES AND OF MALTA

Beginnings

จุดเริ่มต้น

อัศวินแห่งคณะมอลตาเยือนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสยามในศตวรรษที่ 16 และ 17

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

มีการบันทึกการมาเยือนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของชาวยุโรปครั้งแรกในพ.ศ. 2063 โดยอันโตนิโอ พิกาเฟตตา (Antonio Pigafetta) ซึ่งเป็นนักวิชาการชาวอิตาลีจากเมืองเวนิส ท่านเป็นผู้ร่วมคณะสำรวจ มาเจลลัน – เอลคาโน (Magellan – Elcano)ที่เดินทางรอบโลกครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของโลก อันโตนิโอ พิกาเฟตตา เป็นอัศวินแห่งคณะมอลตาและเป็นหนึ่งในคณะสำรวจที่เดินทางรอบโลกสำเร็จ

 

อาณาจักรสยาม

ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14แห่งประเทศฝรั่งเศสได้ส่งคณะทูตเพื่อมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับสมเด็จพระนารายณ์ โดยได้แต่งตั้ง เลอ เชอวาลิเยร์ เดอ โชมงต์ (Chevalier De Chaumont ) เป็นราชทูต โดยมี โกลด เดอ ฟอร์แบ็ง-การ์ดาน (Claude de Forbin-Gardanne) ซึ่งเป็นอัศวินคณะมอลตาเป็นผู้ติดตาม คณะทูตได้เดินทางมาถึงสยามในปีพ.ศ. 2227

หลังจากที่ภารกิจเสร็จสิ้นแล้วนั้น สมเด็จพระนารายณ์ทรงตรัสขอให้ โกลด เดอ ฟอร์แบ็ง-การ์ดาน อยู่รับราชการต่อและได้ประทานตำแหน่งผู้ว่าราชการบางกอกและพลเรือเอก พร้อมแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็น “ออกพระศักดิ์สงคราม” เพราะท่านเป็นผู้ฝึกนายทหารชาวสยามด้วยเทคนิควิธีการต่อสู้แบบยุโรป ฟอร์แบ็งได้ร่วมปราบกบฏมักกะสัน ที่บางกอกในปีพ.ศ.2229 และหลังจากนั้น 2 ปีก็ได้กลับประเทศฝรั่งเศสในปีพ.ศ.2231

อันโตนิโอ พิกาเฟตตา (พ.ศ. 2034 – 2074) (pisandocharcosaguirre.blogspot.com)

Detail_from_a_map_of_Ortelius_-_Magellan's_ship_Victoria

สำเภา นาว วิคตอเรีย ที่เดินทางรอบโลกสำเร็จเพียงลำเดียว (รายละเอียดในแฝนที่โดย อับราฮัม โอเทลิอุส – วิกิพีเดีย)

อันโตนิโอ พิกาเฟตตา
(พ.ศ. 2034 – 2074) (pisandocharcosaguirre.blogspot.com)

สำเภา นาว วิคตอเรีย ที่เดินทางรอบโลกสำเร็จเพียงลำเดียว (รายละเอียดในแผนที่โดย อับราฮัม โอเทลิอุส – วิกิพีเดีย)

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นสมาชิกออร์เดอร์ ออฟ มอลตา อีกท่านหนึ่งคือ อาร์ตุส เดอ ลิออนน์ (Artus De Lionne) ได้เดินทางมาสยามในปีพ.ศ.2224 พร้อมคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและเมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงส่งคณะทูตไปยังประเทศฝรั่งเศสในอีก 5 ปีต่อมา พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งให้ อาร์ตุส เดอ ลิออนน์ ทำหน้าที่เป็นล่ามประจำคณะราชทูตจากสยาม

 

เมื่อเสร็จสิ้นราชภารกิจ อาร์ตุส เดอ ลิออนน์ ได้เดินทางกลับมาสยามและมีบทบาทสำคัญอีกครั้งหนึ่งเมื่อเป็นล่ามแปลการสนทนาต่อรองระหว่างฝ่ายฝรั่งเศสและฝ่ายไทยในการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2231 หลังจากนั้นท่านได้ออกจากสยามและเดินทางไปประเทศจีนเพื่อเป็นมิชชันนารีเมื่อปีพ.ศ. 2232 และได้รับแต่งตั้งเป็นอัครสังฆราชแห่งเมืองเสฉวน อาร์ตุส เดอ ลิออนน์ ได้เดินทางกลับกรุงโรมเมื่อปีพ.ศ.2243

เลอ เชอวาลิเยร์ เดอ โชมงต์ ถวายพระราชสาส์นจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส แก่สมเด็จพระนารายณ์ ณ พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท
วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2228
ภาพวาดโดย ฌอง-บับติสต์ โนแลง (วิกิพีเดีย)

จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างออร์เดอร์ ออฟ มอลตาและผืนแผ่นดินไทยนั้นมีมาช้านาน อาศัยสายสัมพันธ์ของอัศวินแห่งคณะมอลตาที่จงรักภักดีรับใช้สมเด็จพระนารายณ์ในสมัยอยุธยา ออร์เดอร์ ออฟ มอลตาจึงได้เป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของประเทศไทยด้วย

ส่วนในยุคสมัยใหม่ ในปีพ.ศ. 2522 ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา อาศัยหน่วยงานของคณะฯ คือ Malteser International ได้ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวเขมร ซึ่งลี้ภัยจากประเทศกัมพูชาในช่วงการปกครองของเขมรแดง โดยได้ดูแลช่วยเหลือก่อตั้งค่ายที่พักอาศัยชั่วคราวตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในเรื่องสุขอนามัย โภชนาการและการแพทย์

โกลด เดอ ฟอร์แบ็ง-การ์ดาน (พ.ศ. 2199 – 2276)
(วาดโดย อันตูอัน เกรนคอร์ต ศตวรรษที่ 18
พิพิธภัณฑ์นาวิกโยธิน – วิกิพีเดีย)

การก่อตั้งคณะฯอย่างเป็นทางการ

สถานกงสุลรัฐอธิปไตย ออร์เดอร์ ออฟ มอลตาในกรุงเทพฯซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนสถานะเป็นสถานทูตแห่งรัฐอธิปไตยออร์เดอร์ ออฟ มอลตาได้บุกเบิกงานของคณะฯโดยเริ่มจากความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยไปพร้อมๆกับงานช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้ยากไร้

forbin Book

บันทึกของโกลด เดอ ฟอร์แบ็ง-การ์ดาน ฉบับปี พ.ศ. 2324
(librairie-maritime.blogspot.com)

พ.ศ. 2229 คณะทูตสยามที่พระราชวังแวร์ซาย
(นิโคลัส เดอ ลาเมสซิน ที่ 2 พ.ศ. 2229 วิกิพีเดีย) ราชทูต 3 ท่านพร้อม เดอ ลิออนน์
ซึ่งถือบทแปลเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Interpreter-zero.org)

เบื้องต้นทางคณะฯได้สำรวจถึงความจำเป็นของผู้ยากไร้และสภาพความยากลำบากของเขาเพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือได้ตรงตามความจำเป็น ในระหว่างนั้นก็ได้เชื้อเชิญคนไทยที่มีแนวโน้มจะเป็นสมาชิกมาร่วมสัมผัสงานด้วย งานของคณะฯ ได้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นเมื่อได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิที่พัดถล่มภาคใต้ของประเทศไทยเมื่อปีพ.ศ. 2547 และการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัยอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศ

คลื่นยักษ์สึนามิก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงแก่ชีวิตและทรัพย์สินในวงกว้าง ทั้งต่อคนไทยและคนต่างชาติ ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและประเมินความเสียหายและหลังจากนั้นได้ให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และได้รับผลกระทบที่ร้ายแรงในครั้งนี้ องค์กรบรรเทาสาธารณภัย (Emergency Corps) และ Malteser International ซึ่งเป็นหน่วยงานบรรเทาทุกข์ของออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ต่างให้ความช่วยเหลือฉุกเฉิน โดยอาศัยประสบการณ์ที่มีอย่างยาวนานในการทำงานบรรเทาสาธารณภัย และทางออเดอร์ ออฟ มอลตาประเทศไทย ก็ได้แจกจ่ายอาหาร เสื้อผ้า ยา เพื่อบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย นับเป็นครั้งแรกที่ออร์เดอร์ ออฟ มอลตาประเทศไทย ได้มีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือในระดับชาติเช่นนี้

ครั้งเกิดน้ำท่วมใหญ่ที่หาดใหญ่เมื่อปีพ.ศ. 2553 ออร์เดอร์ ออฟ มอลตาประเทศไทย ได้ทำงานร่วมกับองค์กรรัฐบาลและ NGO ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยที่ขาดที่พักอาศัย ไม่สามารถประกอบอาชีพ ด้วยการแจกจ่ายอาหารและถุงยังชีพแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้

 

ในปีพ.ศ. 2554 เมื่อมีน้ำท่วมครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯซึ่งก่อความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในกรุงเทพฯ ทาง ออร์เดอร์ ออฟ มอลตาประเทศไทยก็ได้ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์โดยเฉพาะแก่คนยากจนซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมาก แม้ในบางครั้งการให้ความช่วยเหลือเป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะผลกระทบจากน้ำท่วมในครั้งนี้ได้ส่งผลไปถึงการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกๆคนในกรุงเทพฯ ทำให้การส่งเสบียงช่วยเหลือและดูแลผู้ที่เดือดร้อนยากยิ่งขึ้น

อาร์ตุส เดอ ลิออนน์ (พ.ศ. 2198 – 2256) (วิกิพีเดีย)

ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา มีสมาชิกคนไทยคนแรกในปีพ.ศ. 2552 และถัดจากนั้นอีก 2 ปี มีสมาชิกคนไทยเพิ่มขึ้นอีก 7 ท่าน ในปัจจุบัน (ปีพ.ศ. 2565) ออร์เดอร์ ออฟ มอลตาประเทศไทย มีสมาชิกทั้งหมด 20 ท่าน สภาอธิปไตย (Sovereign Council) แห่งออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ยังไม่ได้แต่งตั้งให้ออร์เดอร์ ออฟ มอลตาประเทศไทย เป็นสมาคมของคณะฯ หากแต่ว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาคมภายใต้กฎหมายไทยเมื่อเดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. 2565 ทั้งนี้การดำเนินงานของออร์เดอร์ ออฟ มอลตาประเทศไทย อยู่ในความดูแลของออร์เดอร์ ออฟ มอลตา สมาคมออสเตรเลีย ซึ่งดูแลงานของออร์เดอร์ ออฟ มอลตาในประเทศที่ยังไม่ได้เป็นสมาคมของคณะฯ ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก

 

งานที่สำคัญในปัจจุบันนั้นเน้นการดูแลผู้สูงอายุซึ่งเป็นความจำเป็นเร่งด่วนของประเทศในขณะนี้เพราะสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมชราภาพซึ่งหมายถึงมีผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมดของประเทศ ผู้สูงอายุเหล่านี้หลายๆคนขาดการดูแลจึงนับเป็นโอกาสสำคัญที่ทางคณะฯจะรับใช้สังคมดูแลผู้สูงอายุตามความจำเป็นของเขา

งานของคณะฯ ในประเทศไทยได้ดำเนินตามแบบอย่างของบุญราศีเยราร์ด ผู้ก่อตั้งคณะออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ซึ่งได้เริ่มดูแลผู้ป่วยที่มาจาริกแสวงบุญที่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์เมื่อปี พ.ศ. 1591 และต่อมาทางคณะฯ ได้รับการสถาปนาโดยสมเด็จพระสันตะปาปา ปาสคาลที่ 2 ให้เป็นสถาบันฆราวาสทางศาสนา  ในปี พ.ศ. 1656 เพื่อที่จะหล่อเลี้ยง เป็นพยานและปกป้องความเชื่อ รับใช้ผู้ป่วยและผู้ยากไร้ต่อไป

Short Notice: This website uses technical and assimilated cookies to allow Order of Malta to analyze the online navigation in aggregated statistics. Accepting the cookies allows us to have aggregated insights about user behaviour.

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า