จุดเริ่มต้น
อัศวินแห่งคณะมอลตาเยือนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสยามในศตวรรษที่ 16 และ 17
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีการบันทึกการมาเยือนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของชาวยุโรปครั้งแรกในพ.ศ. 2063 โดยอันโตนิโอ พิกาเฟตตา (Antonio Pigafetta) ซึ่งเป็นนักวิชาการชาวอิตาลีจากเมืองเวนิส ท่านเป็นผู้ร่วมคณะสำรวจ มาเจลลัน – เอลคาโน (Magellan – Elcano)ที่เดินทางรอบโลกครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของโลก อันโตนิโอ พิกาเฟตตา เป็นอัศวินแห่งคณะมอลตาและเป็นหนึ่งในคณะสำรวจที่เดินทางรอบโลกสำเร็จ
อาณาจักรสยาม
ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14แห่งประเทศฝรั่งเศสได้ส่งคณะทูตเพื่อมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับสมเด็จพระนารายณ์ โดยได้แต่งตั้ง เลอ เชอวาลิเยร์ เดอ โชมงต์ (Chevalier De Chaumont ) เป็นราชทูต โดยมี โกลด เดอ ฟอร์แบ็ง-การ์ดาน (Claude de Forbin-Gardanne) ซึ่งเป็นอัศวินคณะมอลตาเป็นผู้ติดตาม คณะทูตได้เดินทางมาถึงสยามในปีพ.ศ. 2227
หลังจากที่ภารกิจเสร็จสิ้นแล้วนั้น สมเด็จพระนารายณ์ทรงตรัสขอให้ โกลด เดอ ฟอร์แบ็ง-การ์ดาน อยู่รับราชการต่อและได้ประทานตำแหน่งผู้ว่าราชการบางกอกและพลเรือเอก พร้อมแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็น “ออกพระศักดิ์สงคราม” เพราะท่านเป็นผู้ฝึกนายทหารชาวสยามด้วยเทคนิควิธีการต่อสู้แบบยุโรป ฟอร์แบ็งได้ร่วมปราบกบฏมักกะสัน ที่บางกอกในปีพ.ศ.2229 และหลังจากนั้น 2 ปีก็ได้กลับประเทศฝรั่งเศสในปีพ.ศ.2231
อันโตนิโอ พิกาเฟตตา (พ.ศ. 2034 – 2074) (pisandocharcosaguirre.blogspot.com)
สำเภา นาว วิคตอเรีย ที่เดินทางรอบโลกสำเร็จเพียงลำเดียว (รายละเอียดในแฝนที่โดย อับราฮัม โอเทลิอุส – วิกิพีเดีย)
อันโตนิโอ พิกาเฟตตา
(พ.ศ. 2034 – 2074) (pisandocharcosaguirre.blogspot.com)
สำเภา นาว วิคตอเรีย ที่เดินทางรอบโลกสำเร็จเพียงลำเดียว (รายละเอียดในแผนที่โดย อับราฮัม โอเทลิอุส – วิกิพีเดีย)
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นสมาชิกออร์เดอร์ ออฟ มอลตา อีกท่านหนึ่งคือ อาร์ตุส เดอ ลิออนน์ (Artus De Lionne) ได้เดินทางมาสยามในปีพ.ศ.2224 พร้อมคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสและเมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงส่งคณะทูตไปยังประเทศฝรั่งเศสในอีก 5 ปีต่อมา พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งให้ อาร์ตุส เดอ ลิออนน์ ทำหน้าที่เป็นล่ามประจำคณะราชทูตจากสยาม
เมื่อเสร็จสิ้นราชภารกิจ อาร์ตุส เดอ ลิออนน์ ได้เดินทางกลับมาสยามและมีบทบาทสำคัญอีกครั้งหนึ่งเมื่อเป็นล่ามแปลการสนทนาต่อรองระหว่างฝ่ายฝรั่งเศสและฝ่ายไทยในการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2231 หลังจากนั้นท่านได้ออกจากสยามและเดินทางไปประเทศจีนเพื่อเป็นมิชชันนารีเมื่อปีพ.ศ. 2232 และได้รับแต่งตั้งเป็นอัครสังฆราชแห่งเมืองเสฉวน อาร์ตุส เดอ ลิออนน์ ได้เดินทางกลับกรุงโรมเมื่อปีพ.ศ.2243
เลอ เชอวาลิเยร์ เดอ โชมงต์ ถวายพระราชสาส์นจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส แก่สมเด็จพระนารายณ์ ณ พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท
วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2228
ภาพวาดโดย ฌอง-บับติสต์ โนแลง (วิกิพีเดีย)
จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างออร์เดอร์ ออฟ มอลตาและผืนแผ่นดินไทยนั้นมีมาช้านาน อาศัยสายสัมพันธ์ของอัศวินแห่งคณะมอลตาที่จงรักภักดีรับใช้สมเด็จพระนารายณ์ในสมัยอยุธยา ออร์เดอร์ ออฟ มอลตาจึงได้เป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของประเทศไทยด้วย
ส่วนในยุคสมัยใหม่ ในปีพ.ศ. 2522 ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา อาศัยหน่วยงานของคณะฯ คือ Malteser International ได้ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวเขมร ซึ่งลี้ภัยจากประเทศกัมพูชาในช่วงการปกครองของเขมรแดง โดยได้ดูแลช่วยเหลือก่อตั้งค่ายที่พักอาศัยชั่วคราวตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในเรื่องสุขอนามัย โภชนาการและการแพทย์
โกลด เดอ ฟอร์แบ็ง-การ์ดาน (พ.ศ. 2199 – 2276)
(วาดโดย อันตูอัน เกรนคอร์ต ศตวรรษที่ 18
พิพิธภัณฑ์นาวิกโยธิน – วิกิพีเดีย)
การก่อตั้งคณะฯอย่างเป็นทางการ
สถานกงสุลรัฐอธิปไตย ออร์เดอร์ ออฟ มอลตาในกรุงเทพฯซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนสถานะเป็นสถานทูตแห่งรัฐอธิปไตยออร์เดอร์ ออฟ มอลตาได้บุกเบิกงานของคณะฯโดยเริ่มจากความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยไปพร้อมๆกับงานช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้ยากไร้
บันทึกของโกลด เดอ ฟอร์แบ็ง-การ์ดาน ฉบับปี พ.ศ. 2324
(librairie-maritime.blogspot.com)
พ.ศ. 2229 คณะทูตสยามที่พระราชวังแวร์ซาย
(นิโคลัส เดอ ลาเมสซิน ที่ 2 พ.ศ. 2229 วิกิพีเดีย) ราชทูต 3 ท่านพร้อม เดอ ลิออนน์
ซึ่งถือบทแปลเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Interpreter-zero.org)
เบื้องต้นทางคณะฯได้สำรวจถึงความจำเป็นของผู้ยากไร้และสภาพความยากลำบากของเขาเพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือได้ตรงตามความจำเป็น ในระหว่างนั้นก็ได้เชื้อเชิญคนไทยที่มีแนวโน้มจะเป็นสมาชิกมาร่วมสัมผัสงานด้วย งานของคณะฯ ได้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นเมื่อได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิที่พัดถล่มภาคใต้ของประเทศไทยเมื่อปีพ.ศ. 2547 และการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัยอื่นๆที่เกิดขึ้นในประเทศ
คลื่นยักษ์สึนามิก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงแก่ชีวิตและทรัพย์สินในวงกว้าง ทั้งต่อคนไทยและคนต่างชาติ ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและประเมินความเสียหายและหลังจากนั้นได้ให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และได้รับผลกระทบที่ร้ายแรงในครั้งนี้ องค์กรบรรเทาสาธารณภัย (Emergency Corps) และ Malteser International ซึ่งเป็นหน่วยงานบรรเทาทุกข์ของออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ต่างให้ความช่วยเหลือฉุกเฉิน โดยอาศัยประสบการณ์ที่มีอย่างยาวนานในการทำงานบรรเทาสาธารณภัย และทางออเดอร์ ออฟ มอลตาประเทศไทย ก็ได้แจกจ่ายอาหาร เสื้อผ้า ยา เพื่อบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย นับเป็นครั้งแรกที่ออร์เดอร์ ออฟ มอลตาประเทศไทย ได้มีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือในระดับชาติเช่นนี้
ครั้งเกิดน้ำท่วมใหญ่ที่หาดใหญ่เมื่อปีพ.ศ. 2553 ออร์เดอร์ ออฟ มอลตาประเทศไทย ได้ทำงานร่วมกับองค์กรรัฐบาลและ NGO ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยที่ขาดที่พักอาศัย ไม่สามารถประกอบอาชีพ ด้วยการแจกจ่ายอาหารและถุงยังชีพแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้
ในปีพ.ศ. 2554 เมื่อมีน้ำท่วมครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯซึ่งก่อความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในกรุงเทพฯ ทาง ออร์เดอร์ ออฟ มอลตาประเทศไทยก็ได้ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์โดยเฉพาะแก่คนยากจนซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมาก แม้ในบางครั้งการให้ความช่วยเหลือเป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะผลกระทบจากน้ำท่วมในครั้งนี้ได้ส่งผลไปถึงการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกๆคนในกรุงเทพฯ ทำให้การส่งเสบียงช่วยเหลือและดูแลผู้ที่เดือดร้อนยากยิ่งขึ้น
อาร์ตุส เดอ ลิออนน์ (พ.ศ. 2198 – 2256) (วิกิพีเดีย)
งานที่สำคัญในปัจจุบันนั้นเน้นการดูแลผู้สูงอายุซึ่งเป็นความจำเป็นเร่งด่วนของประเทศในขณะนี้เพราะสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมชราภาพซึ่งหมายถึงมีผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมดของประเทศ ผู้สูงอายุเหล่านี้หลายๆคนขาดการดูแลจึงนับเป็นโอกาสสำคัญที่ทางคณะฯจะรับใช้สังคมดูแลผู้สูงอายุตามความจำเป็นของเขา
งานของคณะฯ ในประเทศไทยได้ดำเนินตามแบบอย่างของบุญราศีเยราร์ด ผู้ก่อตั้งคณะออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ซึ่งได้เริ่มดูแลผู้ป่วยที่มาจาริกแสวงบุญที่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์เมื่อปี พ.ศ. 1591 และต่อมาทางคณะฯ ได้รับการสถาปนาโดยสมเด็จพระสันตะปาปา ปาสคาลที่ 2 ให้เป็นสถาบันฆราวาสทางศาสนา ในปี พ.ศ. 1656 เพื่อที่จะหล่อเลี้ยง เป็นพยานและปกป้องความเชื่อ รับใช้ผู้ป่วยและผู้ยากไร้ต่อไป